คำนวณ BMI (ดัชนีมวลกาย)

การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เป็นค่ามาตรฐานที่ใช้ประเมินภาวะความอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเมตร(หรือเซนติเมตรหารด้วย 100) แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย (BMI) โดยใช้สูตรคือ น้ำหนักตัว[kg] / ส่วนสูง[m]ยกกำลังสอง


โปรแกรมคำนวณ BMI (ดัชนีมวลกาย)

ส่วนสูง (Height)
ซม. (cm.)
น้ำหนัก (Weight)
กก. (kg.)
ผลการคำนวณ
BMI
คุณ ค่า BMI ความหมาย
น้อยกว่า 18.5 ผอมเกินไป - น้ำหนักน้อยกว่าปกติ ซึ่งก็ไม่ค่อยดีนัก หากคุณมีน้ำหนักน้อยเกินไปอาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย หรือเป็นโรคขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารให้เพียงพอครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะและการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
18.5 - 25.0 น้ำหนักปกติ น้ำหนักเหมาะสม - เป็นน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-25 จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆน้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด และควรตรวจสุขภาพทุกปี
มากกว่า 25.0 - 30.0 เริ่มอ้วน - เป็นน้ำหนักที่เริ่มอ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก แต่ก็เริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เริ่มออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ
มากกว่า 30.0 - 35.0 อ้วน - เป็นน้ำหนักที่ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ต้องออกกำลังกาย ควรไปตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์
มากกว่า 35.0 อ้วนมากผิดปกติ - เป็นน้ำหนักที่อันตรายมากแล้ว มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรไปตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อหาวิธีแก้ไข

หมายเหตุ ค่า BMI จากโปรแกรมคำนวณนี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ค่า BMI เฉลี่ยของหญิงไทยคือ 24.4 และของชายไทยคือ 23.1 (อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)

ค่าดัชนีมวลกาย BMI คืออะไร

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัวและส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายแม้ไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่ ค่า BMI สามารถใช้บ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ระบบหัวใจ รวมไปถึงมะเร็งบางชนิด ได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามค่า BMI เป็นแค่การคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากจำเป็นต้องนำปัจจัยอื่นๆมาประกอบด้วย ทั้งเรื่องของพันธุกรรม ปริมาณกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย และอื่นๆ แต่เนื่องจากดัชนีมวลกายมีวิธีคำนวณที่ง่าย จึงทำให้ทุกคนสามารถประเมินความเสี่ยงของตนเอง จากการมีปริมาณไขมันในร่างกายเกินได้
ค่าดัชนีมวลกาย BMI

สูตรการคำนวณค่า BMI

การคำนวณค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเมตร(หรือเซนติเมตรหารด้วย 100) แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย (BMI) โดยใช้สูตรคือ น้ำหนักตัว[kg] / ส่วนสูง[m]ยกกำลังสอง

เช่น ความสูง 174 ซม. น้ำหนัก 67 กก. สามารถคำนวณได้เป็น
BMI = 67 ÷ (1.74 x 1.74)
BMI = 22.13
สูตรการคำนวณค่า BMI

ข้อจำกัดของการใช้ดัชนีมวลกายในการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย

แม้ว่าดัชนีมวลกายจะสัมพันธ์กับการวัดไขมันในร่างกายค่อนข้างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และความสามารถทางกีฬา ข้อจำกัดเหล่านี้ได้แก่ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย คนที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า นักกีฬาที่ฝึกฝนมาอย่างดีจะมีดัชนีมวลกายสูงเนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า ทำให้น้ำหนักตัวที่มากนั้นมาจากมวลกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องขององค์ประกอบของร่างกาย สรีระ ลักษณะของไขมันในร่างกาย ของแต่ละคน
BMI ผู้ชายกับผู้หญิง

ความเสี่ยงของสุขภาพจากการมีดัชนีมวลกายสูง

เหตุผลที่ใช้ดัชนีมวลกายในการคัดกรองสุขภาพของประชากรทั่วไปเนื่องจากการมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่อไปนี้เพิ่มขึ้น
- ปวดข้อ ข้อเสื่อม
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็งบางชนิด
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน
- การหยุดหายใจขณะหลับหรือมีปัญหาทางเดินหายใจ
ดัชนีมวลกายสูง

วิธีการเพิ่มหรือลดค่า BMI

ค่า BMI จะแปรผันตามน้ำหนักตัว หากน้ำหนักตัวเพิ่มก็จะทำให้ค่า BMI เพิ่มขึ้น ถ้าน้ำหนักตัวลดก็จะทำให้ค่า BMI ลดลงเช่นเดียวกัน โดยแนวทางในการลดน้ำหนักตัวมีดังนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่ไขมันไม่สูง รับประทานแป้งให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ควรรับประทานอาหารเช้า โดยมีผลการวิจัยมาแล้วว่าการไม่ทานอาหารเช้าทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มปริมาณการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน โดยให้สัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป
- การนอนหลับมีผลต่อการเผาผลาญพลังงาน ดังนั้นควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
- หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางเพิ่มเติม
วิธีการเพิ่มหรือลดค่า BMI
References
  • - กองออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • - สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • - Wikipedia.org หัวข้อเรื่อง : Body mass index

คำนวณอื่นๆ


คำนวณ BMI
คำนวณ BMI
โปรแกรมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
คำนวณ VAT
คำนวณ VAT
โปรแกรมคำนวณ VAT (คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม) หลากหลายรูปแบบ
คำนวณน้ำหนักเด็ก
คำนวณน้ำหนักเด็ก
โปรแกรมคำนวณน้ำหนักเด็ก ที่ดีที่สุด มีกราฟเปรียบเทียบ
คำนวณส่วนสูงเด็ก
คำนวณส่วนสูงเด็ก
โปรแกรมคำนวณส่วนสูงเด็ก มีกราฟเปรียบเทียบ ทุกช่วงอายุ
เว็บไซต์นี้ใช้ cookie เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รายละเอียด